วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561

งานช่างในบ้าน

1.งานช่างในบ้านหมายถึง

      งานช่าง หมายถึง การทำงานหรือสิ่งที่เกิดจากการทำงานของช่าง ซึ่งมีหลายประเภทหลายสาขาผู้เป็นช่างจึงมักมีคำต่อท้ายเพื่อบอกประเภทหรือสาขาของงานที่ทำ เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างไม้ ช่างปูน ช่างโลหะ ช่างเขียน ช่างผม ช่างเสริมสวย เป็นต้น
        ช่างที่ดีนอกจากจะมีความรู้ในงานของตนแล้วยังต้องมีฝีมือหรือศิลปะในการทำงานด้วย ความรู้เกี่ยวกับงานช่างอาจได้จากการบอกเล่าสืบต่อกันมาหรือจากการศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อมประสบการณ์ในการทำงานของช่างนอกจากจะสร้างเสริมความรู้ของช่างแล้ว ยังช่วยให้มีความชำนาญในฝีมือการทำงาน

2.ประโยชน์ของงานช่าง

         ประโยชน์ของงานช่าง คือ สามารถใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ สอยได้อย่างถูกต้อง เข้าใจคุณสมบัติของวัสดุ ช่วยทำให้เกิดความประหยัด ทำให้ยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือ เครื่องใช้ บางครั้งสามารถใช้ความรู้ซ่อมแซมแก้ไข ข้อขัดข้องที่เกิดกับอุปกรณ์ได้ตรวจสอบความบกพร่องอุปกรณ์ หากเราพัฒนาฝีมือความรู้จนเกิดความชำนาญก็ยังสามารถที่จะเพิ่มรายได้ให้กับตนเองโดยประกอบเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักเพื่อเพิ่มรายได้ต่อไป

ประโยชน์จากการปฏิบัติงานช่างในบ้าน

-รู้จักการประมาณสมรรถนะของตนเองในการเลือกใช้ การ ประกอบติดตั้งและการบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างดี
-เสริมสร้างทักษะกระบวนการงานช่างในบ้านสาขาต่างๆ เพื่อการ ดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างพอเพียงและมีความสุข
-เสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิค วิธีการประกอบ ติดตั้ง ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ก้าวตามทันเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน
-เสริมสร้างทักษะนิสัยและเกิดความตระหนักในเรื่องความ ปลอดภัยในการทำงานช่างในบ้านและช่างมืออาชีพต่อไป
-เสริมสร้างทักษะนิสัยเรื่องความประหยัดในการปฏิบัติงานช่างใน บ้านด้วยตนเองอย่างถูกต้องและปลอดภัย
-เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อระดับสูงขึ้นและเป็นรากฐานของการ ประกอบอาชีพสุจริตที่มั่นคงต่อไป
-ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่รักษ์โลก
-ช่วยส่งเสริมสร้างสังคมรีไซเคิลสังคมประหยัดพลังงานและการ ใช้เทคโนโลยีสะอาดอันเป็นรากฐานของการเป็นพลเมืองดีสืบต่อไป

3.กระบวนการทำงานช่างในบ้าน

กระบวนการทำงานช่างในบ้านมีดังนี้

1. ขั้นเตรียมการหรือขั้นวางแผน

          เป็นขั้นตอนที่วางแผนจัดการทำงานเพื่อการบำรุงรักษา ซ่อมแซม ติดตั้ง และผลิตเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ในบ้าน สำหรับการบำรุงรักษาเป็นงานหนึ่งที่ต้องศึกษาคู่มือ การทำงานในประเด็นของส่วนประกอบหรือชิ้นส่วนที่ต้องการจะบำรุงรักษาหรือซ่อม แซม การบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในบ้านแต่ละชนิดย่อมมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานต้องวิเคราะห์ว่า เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในบ้านชนิดใดจะต้องบำรุงรักษา ด้วยวิธีทำความสะอาด ปัดฝุ่นละออง เช็ดถู หยอดน้ำมันหล่อลื่น หรือถอดชิ้นส่วนออกมาทำ ความสะอาด ในส่วนของการซ่อมแซมติดตั้งและผลิตผู้ปฏิบัติต้องมีทักษะในการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาวางแผนจัดทำโครงการ เขียนแบบออกแบบ เตรียมวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ เตรียมบุคลากร และงบประมาณ ให้เหมาะสมเพียงพอกับการวางแผนจัดการทำงาน

2. ขั้นดำเนินการ

         เป็นขั้นตอนการทำงานตามที่ได้วางแผนไว้ โดยผู้ปฏิบัติจะต้องลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือชนิด บุคลากรจำนวนเท่าไรจึงจะเหมาะสม พร้อมทั้งตรวจสอบ ปรับปรุงการทำงานแต่ละขั้นตอนตามที่ระบุไว้ในรูปแบบรายการ อีกทั้ง การทำงานช่างทุกประเภทจะต้องจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือให้สามารถใช้งาน ได้ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามการทำงานช่างผู้ปฏิบัติจะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม และเมื่อผลิตแล้ว จะต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม

3. ขั้นตรวจสอบเป็นขั้นตอนการตรวจสอบตั้งแต่

   3.1 ขั้นเตรียมการหรือการวางแผนเพื่อตรวจสอบความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ บุคลากร ฯลฯ หากพบว่าไม่พร้อมจะต้องรีบแก้ไขทันที
    3.2 ขั้นดำเนินการ เป็นขั้นตอนการตรวจสอบวิธีการทำงานแต่ละขั้นตอนเพื่อต้องการทราบว่าขั้นตอนการทำงานเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้หรือไม่ เช่น การใช้เครื่องมือให้ถูกต้องเหมาะ การใช้วัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสม เกิดประโยชน์และประหยัด เป็นต้น อีกทั้งกระบวนการทำงานมีความปลอดภัยหากการทำงานแต่ละขั้นตอนไม่เรียบร้อยจะต้องหาวิธีแก้ไขทันที

4. ขั้นพัฒนา-ปรับปรุง

         เป็นขั้นตอนสำคัญของการทำงานช่าง เพราะขั้นตอนนี้มุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัตินำผลการทำงานในส่วนที่ประสบผลสำเร็จมาใช้โดยผู้ปฏิบัติจะนำจุดเด่นของงาน มาออกแบบหรือจัดทำโครงงานเพื่อพัฒนาให้งานมีผลผลิตสูงขั้นหรือในกรณีที่ผลงานประสบปัญหาผู้ปฏิบัติจะต้องนำปัญหามาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนการทำโครงงานต่อไป เพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์

4.แนวทางการทำงานช่างในบ้าน 

แนวทางการทำงานช่างในบ้านมีดังนี้

1.การวิเคราะห์ แสดงขั้นตอนที่สำคัญๆในกระบวนการทำงาน จำแนกและจัดลำดับขั้นตอนการทำงานก่อน-หลังให้ถูกต้องตามทักษะกระบวนการทำงานช่างในบ้าน 
2.แสดงลำดับขั้นตอนภาระงานแต่ละขั้นตอนที่จะทำในชิ้นงานนั้นๆให้ชัดเจน
3.แสดงตารางการปฎิบัติงานแต่ละขั้นตอนที่จะทำ การใช้เวลา เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์และแรงงาน
4.เลือกเครื่องมือที่ดีที่สุด เหมาะสมกับชนิดของงานที่จะทำอย่าใช้เครื่องมือผิดประเภทเพราะจะสร้างความเสียหายกับชิ้นงาน 
5.เลือกวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงานให้มากที่สุดจะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำงานช่างในบ้านได้เป็นอย่างดี

5.การปฎิบัติงานช่างในบ้าน

การปฎิบัติงานช่างในบ้านมีดังนี้

1.งานติดตั้งหรือประกอบผลิตภัณฑ์

   
     
          ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ สิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ ผู้ผลิตจะผลิตโดยการแยกชิ้นส่วนบรรจุไว้ในกล่อง พร้อมด้วยอุปกรณ์เสริมช่วยการติดตั้ง ครบตามจำนวนที่ต้องใช้และมีคู่มือแนะนำขั้นตอนการประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ให้พร้อมเสร็จ ดังนั้น ผู้ซื้อสามารถทำเองได้อย่างง่ายๆโดยอาศัยความรู้ทางช่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

2.งานซ่อมแซมผลิตภัณฑ์
         

          โดยทั่วไปงานซ่อมแซมผลิตภัณฑ์ สิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ เป็นส่วนหนึ่งของงานช่างในบ้านที่ทุกคนสามารถศึกษาเรียนรู้และปฎิบัติการซ่อมแซมให้ใช้งานได้เป็นปกติ เพราะผลิตภัณฑ์บางอย่างมีความจำเป็นต้องใช้งานตลอดเวลา เมื่ออุปกรณ์เหล่านั้นหมดอายุรับประกันการซ่อมฟรี การซ่อมก็จะเสียค่าใช้จ่าย ดังนั้น จึงควรต้องมีทักษะกระบวนการงานช่างในบ้านไว้สำหรับแก้ปัญหาเบื้องต้น

3.งานบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์

       
    

     ถือเป็นหัวใจสำคัญในการใช้งานผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานมากที่สุด และเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติที่จะต้องนำมาสร้างผลิตภัณฑ์ดังกล่าว 











จัดทำโดย 

ด.ช.ภูริศักดิ์  รักบุญ เลขที่ 2
น.ส.อาทิตญา  คำมี  เลขที่ 10 

ที่มา:https://sites.google.com/site/phaerphanschool/ngan-chang-ni-ban